วิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็ก LD ทำได้อย่างไร
การเรียนรู้ของเด็ก LD ผ่านกระบวนการทำงานของสมอง และพบว่าความบกพร่องทางกระบวนการเรียนรู้ ส่วนหนึ่งมาจากความบกพร่องในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของสมอง จึงส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ ดังนั้น วิธีการจัดการเรียนรู้หรือการหาช่องทางการสอนที่สอดคล้องกับปัญหาของเด็ก จะเป็นวิธีการที่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ โดยมีหลักการที่เหมาะสม ดังนี้
หลักการทั่วไป
1. สอนจากสิ่งที่ง่ายที่สุดก่อน การเริ่มต้นที่ดีควรเริ่มสอนในสิ่งที่ต่ำกว่าความสามารถของเด็ก เล็กน้อย เพื่อให้เด็กมีกำลังใจ มั่นใจ และพร้อมจะเรียนในระดับยากต่อไปได้
2.ให้เด็กมีความสุขในการเรียน เด็กที่มีความสุขในการเรียนจะมองคนในแง่ดี และสามารถสร้าง วามสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนและครูได้
3.ให้การเสริมแรงอย่างสม่ำเสมอ คำชมจากครูเป็นสิ่งสำคัญเด็กจะรู้สึกมีกำลังใจและพยายามมากขึ้น
4.ให้เด็กเรียนจากเพื่อน (เพื่อนช่วยเพื่อน) เพราะเด็ก LD เรียนรู้คนเดียวได้ไม่ดี แต่จะเรียนรู้ได้เมื่อเรียนกับเพื่อน
5.จัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียน เด็ก LD ส่วนใหญ่จะมีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วย ห้องเรียนจึงควรมีความเป็นระเบียบ สวยงาม มีเสียงรบกวนจากภายนอกน้อยที่สุด
6.มองหาจุดเด่นของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสดงความสามารถพิเศษ หรือเป็นคนเก่งในจุดที่เด็กมีศักยภาพ
7.สอนโดยการเน้นย้ำซ้ำทวน เด็ก LD จะเรียนรู้ช้า เรียนได้หน้าลืมหลัง ครูควรใช้วิธีการกระตุ้นความจำ เช่น ให้เด็กทำกิจกรรมนั้นซ้ำบ่อย ๆ ด้วยวิธีการรับรู้ที่หลากหลายจากการดู การฟังการสัมผัส
8.ใช้คำสั่งที่สั้นและเข้าใจง่าย ในหนึ่งคำสั่งไม่ควรให้ทำหลาย ๆ กิจกรรม และให้เด็กทบทวนคำสั่งก่อนลงมือปฏิบัติ
9.พยายามให้ความช่วยเหลือ เนื่องจากเด็กมักขาดวินัย ขาดความรับผิดชอบ ขาดการจัดลำดับและมักไม่รอบคอบ ครูผู้สอนควรให้ความช่วยเหลือ
10.ให้เวลามากขึ้น เนื่องจากเด็กจะทำงานช้า เรียนช้า การให้ทำการบ้านและการทำแบบฝึกหัด จึงควรมีเวลาให้เด็กมากกว่าเด็กทั่วไป
11.มอบงานให้เหมาะสม การมอบให้เด็กทำงานแต่ละครั้งไม่ควรให้ครั้งละ มาก ๆ แต่อาจมอบบ่อยขึ้น (เพื่อให้เท่ากับเด็กคนอื่น )
12.สรุปเรื่องก่อนสอน เด็กจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นหากมีการสรุปเรื่องที่จะเรียนให้เด็กฟังก่อนที่จะเรียนเรื่องนั้น ๆ
13.ใช้อุปกรณ์ช่วย อนุญาตให้เด็กใช้เครื่องคิดเลข คอมพิวเตอร์ เทปบันทึกเสียง เพื่อช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้
14.ให้เรียนรู้จากการปฏิบัติ เด็ก LD เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติและร่วมกิจกรรมมากกว่าการฟัการสอนจากครู
15.ปรับเอกสารการเรียนการสอน เนื่องจากเด็ก LD มีปัญหาการรับรู้ทางสายตาเอกสารการเรียนการสอนต่าง ๆ จึงควรมีการปรับให้เหมาะสม เช่น พิมพ์ขนาดตัวอักษรขนาดใหญ่ขึ้น เน้นคำข้อความสำคัญในหนังสือ ให้ทำแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ลงในกระดาษกราฟ หรือให้เขียนในกระดาษที่มีเส้นบรรทัด เป็นต้น
ปัญหาด้านการอ่าน การเขียน
1.อ่านข้ามคำ ข้ามประโยค (( เทคนิควิธีสอน ) 1. ใช้กระดาษสีสดใสทำเป็นกรอบทาบบนคำข้อความที่จะอ่าน )
2. เห็นหรือเขียนตัวหนังสือกลับกัน (( เทคนิควิธีสอน ) 2.ให้เด็กมองผ่านกระจกเงาในการอ่านและการเขียน )
3. เขียนหนังสือตัวโต / เล็กไม่สม่ำเสมอ (( เทคนิควิธีสอน ) 3.ให้เขียนตามรอยประ หรือเขียนโดยใช้กรอบบรรทัดช่วย )
4. สับสนในตัวอักษร (( เทคนิควิธีสอน ) 4.ให้ใช้รูปภาพในการสื่อสารร่วมกันตัวหนังสือ เช่น ก ภ ถ ให้มีรูปภาพไก่ เรือสำเภา ถุง และให้ฝึกอ่านออกเสียงไปด้วย )
5. เขียนหนังสือติดกันไม่เว้นช่องไฟ (( เทคนิควิธีสอน ) 5. ให้ฝึกเขียนกะระยะ โดยใช้ปากกาหรือสีจุด เป็นรอย เพื่อให้เด็กรู้การเว้นช่องไฟ หรือ การเว้นบรรทัดไม่เว้นบรรทัด )
6.อ่านและเขียนคำไม่ได้ (( เทคนิควิธีสอน ) 6.ให้ฝึกอ่านและเขียนคำจากภาพ หรือให้ฝึกทักษะ 4 ด้าน คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน เช่น ครูอ่านเสียงคำให้เด็กฟัง แล้วนำคำให้ เด็กเห็น จากนั้นให้เด็กอ่านคำและพูดออกมา หลังจากนั้นให้เด็กเขียนโดยไม่เห็นคำ )
7. อ่านจับใจความไม่ได้ (( เทคนิควิธีสอน ) 7.ให้อ่านหรือฟังนิทาน แล้วถามคำถาม เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำไม เป็นการค่อย ๆ ให้จำรายละเอียดของเรื่องและฝึกให้เด็กคิด )
8. จำและเขียนตัวอักษรไม่ได้ (( เทคนิควิธีสอน ) 8.ใช้วิธีเน้นการใช้ประสาทสัมผัสหลาย ๆ ทางเช่น ใช้นิ้วลากเส้นตามตัวอักษร พร้อมออกเสียงไปด้วย ทำซ้ำ ๆ จนกว่าจะจำได้ หรือเขียนบนพื้นทราย เขียนบนแผ่นหลัง รวมถึงใช้เทคนิคดู – ปิด – เขียน – ตรวจสอบ )
9.ไม่เข้าใจเรื่องที่อ่าน (( เทคนิควิธีสอน ) 9.ใช้ภาพ แผนที่ แผนภูมิ คำ หรือประโยคที่เหมาะสมกับวัยของเด็กประกอบการสอน )
ปัญหาด้านพฤติกรรม
1.ขาดสมาธิในการฟัง (( เทคนิควิธีสอน ) 1.กำหนดให้เด็กฟังครูในเวลาจำกัด แล้วสรุป ประเด็นให้เด็กฟัง พูดให้ชัดเจนใช้คำพูดสั้นๆแล้วให้เด็กพูดตาม ให้เด็กพูดใหม่ โดยใช้คำพูดของเด็กเอง แต่ใจความสำคัญยังคงเดิมทบทวนและให้เด็กมีส่วนร่วมในแต่ละเรื่องบ่อย ๆ )
2. ปฏิบัติตามครูไม่ได้ (( เทคนิควิธีสอน ) 2. นำวิธีวิเคราะห์งานมาใช้ โดยจำแนกงานเป็น ขั้นย่อย ๆ หลาย ๆ ขั้น แล้วให้เด็กปฏิบัติแต่ละขั้น ครูเขียนคำอธิบายสั้นง่ายและชัดเจน ให้เด็กสังเกตผลงานของตนเองในแต่ละขั้นแล้วส่งครู )
3.อยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น (( เทคนิควิธีสอน ) 9.ใช้ภาพ แผนที่ แผนภูมิ คำ หรือประโยคที่เหมาะสมกับวัยของเด็กประกอบการสอน )
ด้านทักษะพื้นฐานในการรับรู้
1. ด้านสายตา (( เทคนิควิธีสอน ) 1. ฝึกทักษะโดยใช้กิจกรรมต่าง ๆ ผ่านประสาท สัมผัส เช่น จำแนกภาพจากฉากหลัง ประสมคำ จากปริศนาอักษรไขว้ วาดภาพ , ระบายสีภาพต่อภาพตัดต่อ ต่อไม้บล็อก )
2. ด้านการฟัง (( เทคนิควิธีสอน ) 2. ฝึกทักษะโดยใช้กิจกรรมต่าง ๆ ผ่านประสาท สัมผัส เช่น อ่านหนังสือ โดยอ่านออกเสียงแล้วฟังเสียงตนเองให้ฟังคำ ประโยค หรือชื่อ คนสัตว์ สิ่งของ และให้พูดตามเพื่อน หลับตาฟังเสียงพูดและให้ทายว่าเป็นใคร ฟังเพลงและจำเนื้อเพลงให้ได้ )
3. ด้านการจัดลำดับข้อมูล (( เทคนิควิธีสอน ) 3. ฝึกทักษะโดยใช้กิจกรรมต่าง ๆ ผ่านประสาทสัมผัส เช่น บอกชื่อสิ่งของภายในห้อง โดยเรียงลำดับตัวอักษร บอกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์ เริ่มต้นจากวันใดก็ได้ที่ไม่ใช่วันอาทิตย์ หรือวันจันทร์แล้วบอกชื่อเรียงกลับตามลำดับ บอกวิธีการทำงาน เช่น วิธีหุงข้าว วิธีทำความสะอาดบ้าน บอกทางไปโรงเรียน ไปบ้านเพื่อน ไปสวนสัตว์ )
สรุป วิธีการจัดการเรียนรู้มีความสำคัญที่ครูผู้สอนเด็ก LD ต้องศึกษาให้เข้าใจโดยต้องศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก LD โดยผ่านกระบวนการทำงานของสมอง ซึ่งจะช่วยครูให้เข้าใจธรรมชาติความบกพร่องของการเรียนรู้ของเด็กได้ชัดเจนขึ้น
2.เข้าใจเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยรู้หลักการสอนทั่วไป และหลักการสอนเฉพาะ ซึ่งหลักการสอนทั่วไปช่วยให้ครูผู้สอนมีแนวทางการสอนที่จะปรับให้เหมาะกับสภาพของเด็ก LD ส่วนหลักการเฉพาะเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ตามลักษณะความบกพร่องในแต่ละด้าน โดยจะเกี่ยวกับเทคนิควิธีการเฉพาะ
เอกสารอ้างอิง
ชมรมฯ ขอบคุณข้อมูลดีดีที่เป็นประโยชน์จาก : sornosampas.wordpress.com
เราทุกคนสามารถติดต่อหรือสอบถามข้อมูลชมรมฯได้หลายช่องทาง สามารถเลือกได้ตามความสะดวก
สถานที่ตั้งชมรมผู้ปกครองบุคคลบกพร่องทางการเรียนรู้ จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 206 หมู่ที่ 3 ตำบล หนองกรด อำเภอ บรรพตพิสัย จังหวัด นครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60180
ld nakonsawan
Tel : 093-2751308